วัดกะพังสุรินทร์ พระอารามหลวง

วัดกะพังสุรินทร เปนพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยูเลขที่ 28 ถนนเวียนกะพัง อําเภอเมืองตรัง พระอารามมีเนื้อที่ 24 ไร 3 งาน 84.2 ตารางวา ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2480 ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2490 และ ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหยกขึ้นเปนพระอารามหลวง ตั้งแตวันที่ 23 มิถุนายน 2549 เปนตนมา วัดกะพังสุรินทร เปนวัดสําคัญคูเมืองตรังมาตั้งแตเดิม จะสรางขึ้นเมื่อใดไมปรากฏหลักฐานชัดเจน คงมีเพียงคําบอกเลาตอๆ กันมาวา สรางขึ้นราวพุทธศักราช 2440 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว บริเวณรอบพระอารามมีลักษณะเปนเนินเตี้ย ในสมัยโบราณเปนปารกชัฏไมมีชาวบานผูใดกลาเขาไปหาของปานัก ที่ดินวัดอยูติดกับสระกะพัง ซึ่งมีขนาดใหญและเปนที่สัตวปาลงกินนํ้า แรกเริ่มภายหลังจากเจาเส คนจีนเจาของที่ดินบริจาคสรางวัด วัดจึงมีนามวา “วัดกะพัง” มาตั้งแตตน (มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2557 หนา 41 ) ภายหลังเมื่อ พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เห็นวาพื้นที่รอบกะพังเปนพื้นที่มีชัยภูมิที่ดี จึงพัฒนากะพัง สรางถนนโดยรอบและทําเปนเมืองหนึ่งใหเปนสถานพักผอนหยอนใจของคนในชุมชนประชาชนจึงเรียกนามใหมวา “สระกะพังสุรินทร” ตามราชทินนามของผูมีดําริพัฒนาแตนั้น และในพุทธศักราช 2483 ดานเหตุที่วัดกะพังมีชื่อเหมือนกับสระและอยูใกลเคียงกัน จึงเปลี่ยนนาม พระอารามเปน “ วัดกะพังสุรินทร” ใหคลองกับภูมิทัศนโดยรอบแตนั้นเปนตนมา (มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2557, หนา 49

นอกจากนี้ ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวเสด็จเลียบมณฑลภูเก็ตเมื่อพุทธศักราช 2471 ไดเสด็จมายังสระกะพัง สุรินทรในวันที่ 9 กุมภาพันธ ปรากฏความตามหนังสือพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว เสด็จเลียบมณฑลภูเก็ต พุทธศักราช 2471 วา “.... เวลา 16.30 น. ทรงรถยนตพระที่นั่งไปประพาสและเสวยพระสุธารสเครื่องวางที่วนะ สะพังแลวเสด็จกลับประทับแรมที่ ตําหนักผอนคลาย....” (สถาบันพระปกเกลา, 2543, หนา 186 ) เดิมกอนเขาสูพุทธศตวรรษที่ 26 คือในราวกอนพุทธศักราช 2500 พระอารามนี้เปนพระอารามในชนบทที่ไมคอยจะไดรับ การปรับปรุงดูแลมากนัก เพราะเหตุเปนวัดในสถานที่หางไกล มีพุทธศาสนิกที่จะนําทําบุญทํานุบํารุงไมมากดังพระอารามในพระนคร รูปแบบ เสนาสนะที่สรางขึ้นก็มิไดวิจิตรหรูหรา คงแตเพื่อพออยูอาศัยและปฏิบัติกิจสงฆไดเพียงนั้น พระพรหมจริยาจารย (สงัด ปฺญาวุโธ) อธิบายวา “ ....จะเลาความใหฟงวาสมัยมาอยู ( ป 2499) เพราะวาวัดนี้มันจะรางมิรางแหลอยูแลวตอนนั้นเปนวัดบานนอก ก็เลยยกคณะ กันมาอยู มีพระสองรูปและเณร เสนาสนะที่อยูที่อาศัยของพระและเณรก็ไมสมบูรณไมพอ อยูก็ลําบากในตอนเริ่มตน แตเราก็หวั่นไหว สมัยนั้นไมมีไฟฟา ไดอาศัยตะเกียงเจาพายุเณรตองกางมุงนอนบนลานวัดขางๆ โบสถ มีตนไมตนหนึ่งลักษณะเปนพุม เณรก็ขึ้นไปใชนอน กัน ตอมาก็มีผูศรัทธาสรางกุฏิเล็กใหอยู กุฏิละรูป...” (พระพรหมจริยาจารย (สงัด ปฺญาวุโธ), 2564) ตามเดิมพระพรหมจริยาจารย เปนชาวจังหวัดตรัง แตในสมัยเด็กมีโอกาสไปเรียนบาลีและปริยัติธรรมที่สํานักศาสนศึกษา วัดคูหาสวรรค จังหวัดพัทลุง แลเริ่มตนเปนครูสอนมาแตนั้นกระทั่งทราบขาววาจังหวัดตรังขาดครูผูมีความรูความสามารถจึงยายมาจําวัด ณ พระอารามแหงนี้โดยพุทธศักราช 2499 ไดริเริ่มเปดสํานักศาสนศึกษาวัดกะพังสุรินทร สอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี จนขยาย เปนโรงเรียนพระปริยัติธรรม สหธรรมประชาสรรค ในพุทธศักราช 2515 เพื่อตองการใหพระภิกษุ สามเณร ไดมีความรูแตกฉาน และศึกษาหลักธรรมคําสอนของพระพุทธศาสนา ไดอยางลึกซึ้ง มาประพฤติปฏิบัติและอบรมสั่งสอนประชาชนใหเปนผูมีคุณธรรมจริยธรรม โดยการจัดการศึกษาซึ่งทานเจาคุณไดบุกเบิก มาแตตนนั้นมิใชวาจะสามารถดําเนินการไดโดยงายในทางกลับกันตองฝาฟนอุปสรรคและความยากลําบากนานาประการเพื่อใหพระและ เณร สามารถดํารงชีพได ดังที่ทานเจาคุณอธิบายวา “...เมื่ออาตมาดํารงตําแหนงเจาอาวาสป 2505 ก็ทํางานมาโดยตลอด มิไดหวั่นไหวกับความลําบาก ตองคิดและวางแผนหลายอยาง ตั้งแตปากทอง ถึงความเปนอยู ตองหาเงินทอง อาหาร การขบฉัน เมื่อไดเงินมาทั้งจากการบริจาค การทอดกฐิน ก็ตองเอาไปสรางเสนาสนะ ที่จําเปนมีไมมากพอจะใชหาอาหารฉันไดตลอด จึงตั้งมูลนิธิวัดกะพังสุรินทร (พุทธศักราช 2518 ) เพื่อตอไปขางหนามูลนิธิตั้งไว เราตายไป ไมเปนไร คนอื่นมาทํางานสืบตอไปได จนกระทั่งบัดนี้ก็สามารถนําดอกผลมาใชจาย ใหอยูไดยามลําบาก..”(พระพรหมจริยาจารย (สงัด ปฺญาวุโธ), 2564

เมื่อแรกสรางโรงเรียนพระปริยัติธรรม สหธรรมประชาสรรค ทางวัดยังขาดแคลนทุนรอนที่จะใชในการกอสรางอยูมาก จึงตอง อาศัยความสมัครสมานสามัคคีของบรรดาพระภิกษุสามเณรชวยกันลงแรงกอสราง ซึ่งอาคารโรงเรียนที่เกิดจากความรวมแรงรวมใจของ พระภิกษุในคราวนั้นแมในปจจุบันก็ยังคงใชได ทั้งยังเปนอาคารที่เปนพยานแหงความมุงมั่นอุทิศตนเพื่อพระศาสนาของพระภิกษุและ สามเณรเหลานั้นไดเปนอยางดี ดังที่ทานเจาคุณเลาวา “...ตอนสรางโรงเรียนราวป พ.ศ. 2515 ไมมีปจจัยอาศัยแรงพระแรงเณรที่มาเรียน บาลี จึงใชคาจางนอยและมีพระรูปหนึ่งมีความรูทางดานการกอสรางมาชวยเหลือ เอาแรงมาชวยกันตลอด ฉะนั้นโรงเรียนหลังนี้ใชเงินไป ประมาณ 400,000 บาท เทานั้น เปนอาคารสองชั้นและใชมาจนกระทั่งทุกวันนี้...” (พระพรหมจริยาจารย (สงัด ปฺญาวุโธ) , 2564) เมื่อการศึกษาเปนประดุจดังหัวใจของพระอารามในดามขวานแหงนี้ในพุทธสักราช 2519 จึงไดจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย เปดโอกาสใหกุลบุตร กุลธิดา ที่สนใจไดเขาเรียนอยางตอเนื่องมีการปรับปรุงพัฒนาวิธีการเรียนการสอนมาอยางตอเนื่องเพื่อประโยชน สูงสุดของผูศึกษา นับถึงปจจุบันมีผูผานหลักสูตรนี้หลายรอยคน พระพรหมจริยาจารย ผูบุกเบิกโรงเรียนแหงนี้เลาความภาคภูมิใจ อยางหนึ่งวา “ …อาตมาจะเลาใหฟง มีอยูวันหนึ่ง อาตมาไปงานศพพระรูปหนึ่งในฝงประเทศมาเลเซีย เมื่องานเสร็จแลว มีผูหญิงคนหนึ่ง วัยกลางคนและลูกยังไมไปไหน คนอื่นเขาออกไปหมดแลว อาตมาจึงถามวามีธุระอะไรหรือที่ยังไมกลับ เธอตอบวาหนูเรียนโรงเรียนพุทธ ศาสนาวันอาทิตยวัดกะพังสุรินทร และมามีครอบครัวอยูฝงประเทศมาเลเซีย กระทั่งลูกโต พอทราบขาววาหลวงพอมา จึงอยากจะไปกราบ หลวงพอ กราบเรียนใหทราบเทานั้นไมมีอะไรเราก็มีความรูสึกปลื้มใจวาการศึกษาพระพุทธศาสนาที่ทํามานั้นไดผล จึงยกตัวอยางใหฟง และก็คิดวาจะไมเลิกทําและทําตอไป ...” (พระพรหมจริยาจารย (สงัด ปฺญาวุโธ), 2564) นอกจากการจัดการศึกษาทั้งพระปริยัติธรรมสําหรับพระภิกษุและสามเณรจนประสบความสําเร็จเปนที่ยอมรับอยางกวางขวาง แลว ทานเจาคุณยังไดจัดตั้งกองทุนศึกษาสงเคราะหและสวัสดิการพระสังฆาธิการ จังหวัดตรัง ขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2522 เพื่อสงเสริมการ ศึกษาของพระภิกษุ สามเณรและนักเรียน ตลอดจนอบรมใหความรูแกประชาชนในชุมชนโดยรอบ ทั้งในจังหวัดและจังหวัดใกลเคียงเพื่อ นําหลักธรรมทางพุทธศาสนาไปประพฤติปฏิบัติกระทั่งในพุทธศักราช 2527 กรมศาสนาไดยกยองสํานักเรียนเปนสํานักเรียนตัวอยาง ระดับภาค นอกจากนี้ ตั้งแตพุทธศักราช 2544 เปนตนมาแมชุมชนโดยรอบมีความพรอมมากขึ้น และมีโรงเรียนของตนแลว ทางวัดกะพังสุรินทร ก็ยังใหการอนุเคราะหแกโรงเรียนโดยใหพระอาจารยจากพระอารามเขาไปชวยสอนวิชาพระพุทธสาสนาและสอนธรรมศึกษา คุณูปการ ที่ปรากฏชัดเจนเปนอเนกปริยายของพระพรหมจริยาจารย อาจสรุปไดดังความตอนหนึ่งแหงประกาศพระบรมราชโองการ สถาปนาสมณศักดิ์ พระธรรมรัตนากร ขึ้นเปนพระพรหมจริยาจารย ความวา “ ...สรรพกิจที่ พระธรรมรัตนากร ไดปฏิบัติบําเพ็ญมาตลอดแลวนั้น ยอมเกิด ผลดีแกพระพุทธศาสนา ประเทศชาติ และประชาชนโดยทั่วไป จึงนับไดวาเปนผูมีความอุตสาหวิริยะ อุทิศตนใหแกพระพุทธศาสนาและ สังคมอยางแทจริง บัดนี้ พระธรรมรัตนากรเปนผูเจริญดวยพรรษายุกาลรัตตัญูเถรกรณธรรม มั่นคงในพรหมจรรยเนกขัมมปฏิปทา มี จริยาวัตรนาเลื่อมใส มีวัตรจริยาเปนที่เคารพสักการะ แหงพุทธบริษัทโดยทั่วไป สมควรที่จะไดยกยองใหดํารงสมณฐานันดรสูงขึ้น...” (ราชกิจจานุเบกษา เลมที่ 125 ตอนที่ 5ข ลงวันที่ 11 มีนาคม 2551

นอกจากประวัติและความสําคัญของพระอาราม ในดานการศึกษาซึ่งกลาวมาแลว วัดกะพังสุรินทร ยังมีบทบาทและความสําคัญ แกการพระศาสนาและการคณะสงฆอีกหลายประการ อาทิ เปนที่ทําการของเจาคณะใหญหนใต ซึ่งดูแลเขตปกครองสงฆในหนใตทั้ง 3 ภาค และรวมถึงคณะสงฆในประเทศมาเลเซียซึ่งแมเสนแบงพรมแดนจะแบงเขตแดนขาดออกจากกันแลว แตศาสนาจักรยังคงเปนไปตามวิธีเดิม ซึ่งมีมาแตอดีต โดยคณะสงฆมาเลเซียยังแบงการปกครองเปนรัฐ มีเจาคณะรัฐซึ่งสุลตานแหงรัฐนั้นๆ เปนผูใหการรับรอง มีฐานะเทียบ เจาคณะใหญหนใต และคณะสงฆไทย ความสัมพันธของสองคณะสงฆในพื้นที่ประเทศไทยและมาเลเซียเห็นไดจากการไปมาหาสูกันอยางเสมอ แมในพิธีกรรมหรือกิจกรรมตางๆก็มีการกระทํารวมกันเกื้อกูลกันโดยตลอด เชน การรวมเจริญพระพุทธมนตถวายพระพรในวันเฉลิม พระชนมพรรษา การจัดสอบบาลี และนักธรรม เปนตน ศาสนสถานภายในพระอาราม ภายในวัดกะพังสุรินทร มีศาสนสถานที่สําคัญหลายแหง แมจะไมไดเปนอาคารที่สวยงามวิจิตรดวยการสรางหรือตกแตงประดับ ประดา แตก็เปนศาสนสถานหรืออาคารภายในวัดซึ่งสรางขึ้นจากความศรัทธา และความรวมมือรวมแรงของพระภิกษุ สามเณร ตลอดจน พุทธศาสนิกชน กลาวคือ พระอุโบสถเดิม ภายหลังจากที่ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2480 พระอธิการแยม เจาอาวาสในสมัยนั้น จึงมีดําริ ใหสรางอุโบสถขึ้น 1 หลัง กวาง 9.50 เมตร ยาว 15.40 เมตร ตอมาแลวเสร็จในสมัยพระอธิการเพิ่มเปนเจาอาวาส ไดทําการผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ตรงกับวันอาทิตยขึ้น 15 คํ่าเดือน 6 ปกุน ลักษณะสถาปตยกรรมเปนไปอยางเรียบงาย มีเสาไมรับนํ้า หนักผนังหลอปดดวยปูน หลังคา 2 ชั้น มุงกระเบื้องปูนรูป 4 เหลี่ยม พระอุโบสถหลังนี้ไดรับการบูรณะใหมในป พ.ศ. 2525 โดยคงรูปราง และโครงสรางเดิมไว แตเปลี่ยนหลังคาเปนกระเบื้องลอนเล็กในปจจุบันใชเปนพระวิหารสําหรับสวดมนต ทําวัตรเย็น ภายในประดิษฐาน พระประธานเปนพระพุทธรูปปูนปน สรางขึ้นเมื่อใดไมปรากฏ ทราบแตเพียงวาผูปนเปนชาวพัทลุงชื่อชางหนู เบื้องซายและขวาเปน พระพุทธรูปทรงเครื่อง จีวรลายพุดตาน ปูนปน พระอุโบสถหลังใหม ในระยะเวลาตอมาสภาพอุโบสถเดิมมีขนาดเล็กไมเพียงพอตอความตองการ โดยเฉพาะการที่จะตองประกอบพิธีในวาระสําคัญ ตางๆ ในฐานะที่เปนวัดที่จําพรรษาของเจาคณะใหญหนใต พระพรหมจริยาจารยจึงมีดําริใหสรรหาพื้นที่ใหมเยื้องลงมาทางทิศใต สําหรับ การสรางพระอุโบสถใหม โดยไดจัดสรางเปนอาคารทรงจัตุรมุขยอดปรางค รอบพระอุโบสถมีระเบียงโดยรอบ มีบันไดนาคอยูทิศตะวัน ออก หลังคาพาไลยื่นตอออกจากตัวพระอุโบสถทุกดาน รับนํ้าหนักดวยเสาพาไลในระยะเดียวกับระเบียง ภายในประดิษฐานพระประธาน เปนพระพุทธรูปหลอดวยโลหะ ปางมารวิชัย สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย (ชวง วรปฺโญ ป.ธ.9) ผูปฏิบัติหนาที่สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระนามวา “ พระพุทธสิหิงคศรีตรังพรหมประชามหาโชค” หอสมุด จํานวนหนึ่งหลัง สรางขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2537 ศาลาพักรอน (ศาลาถาวร) จํานวนหนึ่งหลัง สรางขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2543 ศาลาธรรมสภา และศาลาบูชาพระ สรางขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2547

บูรพาจารย

นับแตอดีตจนถึงปจจุบัน วัดกะพังสุรินทร มีเจาอาวาสปกครองเทาที่สืบคนได ปรากฏนาม โดยลําดับ จํานวน 15 รูป คือ 1. พระครูวิเชียร 2. พระนาค 3. พระหนู 4. พระดวน 5. พระลอม 6. พระปลอด 7. พระเรือง 8. พระอธิการแยม 9. พระอธิการแดง 10. พระสมุหเขียน 11. พระสมุหซวน พ.ศ. 2480 – 2488 12. พระอธิการเพิ่ม พ.ศ. 2488 - 2497 13. พระสมุหแพ พ.ศ. 2497 – 2499 14. พระมหาเกลื่อม พ.ศ. 2499 – 2505 ปจจุบัน มีสมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปฺญาวุโธ) เจาคณะใหญหนใต เปนเจาอาวาส

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือวัดทั่วไทย SBL บันทึกประเทศไทย


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

image
image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 393,718